
กองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16/05/2025
The Power of Design: Why Design Matters to Happiness and Productivity
18/05/2025 อีกหนึ่งก้าวแห่งความสำเร็จของไทยไทโย สู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
บริษัท ไทยไทโย จำกัด ได้รับการรับรองมาตรฐาน “อุตสาหกรรมสีเขียว” ระดับ 3 (Green System) จากกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจหลักของบริษัท ได้แก่:
- ธุรกิจเหล็กและตู้นิรภัย
เลขทะเบียนโรงงาน: 10130001925604
GI(E) 3-772/2568 วันที่ 25 เม.ย. 2568 - ธุรกิจแม่พิมพ์
เลขทะเบียนโรงงาน: 20130101225606
GI(E) 3-824/2568 วันที่ 30 เม.ย. 2568 - ธุรกิจไม้และเก้าอี้
เลขทะเบียนโรงงาน: 20130010325604
GI(E) 3-863/2568 วันที่ 6 พ.ค. 2568
ความสำเร็จนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของทีมงานไทยไทโย ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อชุมชน และส่งเสริมความยั่งยืน โดยมีแนวทางสำคัญ ได้แก่:
- การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (ลดการใช้พลังงาน-น้ำ, จัดการของเสียอย่างถูกวิธี)
- การลดมลพิษและปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 14001:2015
- การมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น การสนับสนุนสถานศึกษาและหน่วยงานราชการ
สิทธิประโยชน์จากการรับรองระดับ 3:
- ได้รับใบรับรองและใช้ตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียว
- เผยแพร่และโฆษณาผลิตภัณฑ์ในจุลสารของอุตสาหกรรมสีเขียว
- ใช้ประกอบการขอ Thailand Trust Mark
บริษัทฯ ขอยืนยันที่จะเดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เพราะเรามั่นใจว่า...“ธุรกิจที่ดี ต้องเติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม”
หลักเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry)
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียว ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม และสถานการณ์ในปัจจุบัน ให้ครอบคลุมทุกมิติของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง
อุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ระดับของอุตสาหกรรมสีเขียว

อุตสาหกรรมสีเขียว แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1: ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) หมายความว่า การแสดงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานและนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และความรับผิดชอบต่อสังคม
ระดับที่ 2: ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) หมายความว่า การดำเนินกิจกรรมลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับที่ 3: ระบบสีเขียว (Green System) หมายความว่า การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตาม ประเมินผล และทบทวนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับที่ 4: วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) หมายความว่า องค์กรมีการดำเนินการตามแนวทางมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่กับการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่บุคลากร ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่ 5: เครือข่ายสีเขียว(Green Network) หมายความว่า การขยายขอบเขตของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวจากภายในองค์กรออกสู่ภายนอก ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว

แหล่งอ้างอิง:
ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน "อุตสาหกรรมสีเขียว" ระดับต่างๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
เว็บไซต์โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว กระทรวงอุตสาหกรรม
https://greenindustry.diw.go.th/webgi/green-industry-criteria/